ประวัติอำเภอเชียงม่วน

    

        อำเภอเชียงม่วนเดิมมีฐานะเป็นตำบล  ชื่อตำบลเชียงม่วน  อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบ้านม่วง (ปัจจุบันเป็นอำเภอปง  จังหวัดพะเยา) จังหวัดน่าน  เมื่อ พ.ศ. 2496  ทางราชการได้โอนเขตการปกครองของอำเภอปง  จังหวัดน่าน ไปขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย “อำเภอเชียงม่วน” ซึ่งขณะนั้นมีฐานะเป็นตำบลเชียงม่วน จึงอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปง  จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่  18  มิถุนายน  พ.ศ. 2512 ได้มีการประกาศกระทรวงมหาดไทยแบ่งท้องที่อำเภอปง จังหวัดเชียงราย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเชียงม่วน อยู่ในเขตการปกครองอำเภอปง จังหวัดเชียงราย  ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2517 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะ “กิ่งอำเภอเชียงม่วน  ขึ้นเป็นอำเภอเชียงม่วน”  อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย  ซึ่งต่อมาได้มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520  แยกอำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน  ออกจากการปกครองของจังหวัดเชียงราย ตั้งจังหวัดพะเยา ดังนั้น อำเภอเชียงม่วนจึงอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดพะเยาจนถึงปัจจุบัน


 

 ที่มา : http://student.nu.ac.th/49370951/pyomap.html

อาณาเขตติดต่อ

      ทิศเหนือ           ติดต่อกับอำเภอปง   จังหวัดพะเยา
      ทิศใต้              ติดต่อกับอำเภอสอง   จังหวัดแพร่
      ทิศตะวันออก     ติดต่อกับอำเภอบ้านหลวง  จังหวัดน่าน
      ทิศตะวันตก       ติดต่อกับอำเภอดอกคำใต้   จังหวัดพะเยา   

ลักษณะภูมิศาสตร์

 ภูมิประเทศของอำเภอเชียงม่วน  เป็นที่ราบสูงระหว่างภูเขา  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาและป่าไม้
มี ที่ราบสองฝั่งแม่น้ำยมและน้ำปี้  ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล(MSL) 300 เมตร อำเภอเชียงม่วน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ   722.859 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 451,786 ไร่

สภาพภูมิอากาศ

             อำเภอเชียงม่วนมีสภาพดินฟ้าอากาศคล้ายอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดพะเยา แบ่งออก 3 ฤดู
             ฤดูร้อน               ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
             ฤดูฝน                 ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน  ถึง เดือนตุลาคม
             ฤดูหนาว             ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์

ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ

         แร่ ธาตุในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน ได้เคยมีการสำรวจพบแร่เหล็กที่พื้นที่บ้านหนองกลาง  หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านมาง  และแร่ทองแดง ที่พื้นที่ บ้านปิน  หมู่ที่ 3  ตำบลเชียงม่วนแต่มีปริมาณไม่เพียงพอในเชิงพาณิชย์ ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ. 2532 กรมทรัพยากรธรณี ได้สำรวจพบแหล่งถ่านหินบ้านสระ  ในบริเวณแอ่งเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ซึ่งมีปริมาณสำรองถ่านหินและลิกไนท์  ทางธรณีวิทยาสำรองยืนยัน(Measured) จำนวน 62.00 ล้านตัน ปริมาณสำรองบ่งชี้ (Indicate) จำนวน 1.59 ล้านตัน รวมทั้งสิ้น จำนวน 63.59 ล้านตัน กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานกระทรวงวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม  รับผิดชอบในการพัฒนาแหล่งถ่านหินบ้านสระ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ วันที่  5 มิถุนายน  2533ได้มอบอำนาจให้บริษัทเหมืองแร่เชียงม่วนจำกัด ขอประทานบัตรในกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานซึ่งทางแผนกำหนดจะเริ่มผลิตลิ กไนท์บริเวณบ้านสระหมู่ที่ 4  ตำบลสระ ได้ประมาณกลางปี  พ.ศ. 2537 โดยคาดว่าจะมีอัตราการผลิตสูงสุด ประมาณ  ปีละ 5 แสนตัน และในปัจจุบันนี้ทางบริษัทได้ดำเนินการตามแผนที่กำหนด

การคมนาคม

           การ คมนาคมระหว่างจังหวัด ใช้เส้นทางหลวงแผนดินหมายเลข  1019  (พะเยา- น่าน) ซึ่งเป็นถนนลาดยางเป็นหลัก ส่วนทางแยกเข้าสู้ตำบลและหมู่บ้านต่าง ๆ เป็นถนนลาดยาง ถนนหินคลุกและถนนลูกรังบดอัดแน่น สามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดู ทุกตำบลและหมู่บ้าน
           1.เริ่มจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1 (ถนนพหลโยธิน)  ถึงบ้านแม่ต๋ำแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1019 (พะเยา – น่าน ) ผ่านอำเภอดอกคำใต้     อำเภอจุน อำเภอปง ไปสิ้นสุดเส้นทาง ที่อำเภอเชียงม่วน ระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร เป็นถนน     ลาดยางโดยตลอดสามารถใช้ สัญจรไปมาได้สะดวก ทุกฤดู ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ    1  ชั่วโมง  45  นาที

          2.  เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1  (ถนนพหลโยธิน) ถึงบ้านต๋ำแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1019 (พะเยา – น่าน)  ถึงอำเภอดอกคำใต้ แยกซ้ายทางหลวง หมายเลข 1251 ผ่านบ้านทุ่งหลวง บ้านถ้ำ บ้านงิ้ว บ้านแม่พริก บ้านปางงุ้น แยกซ้ายผ่าน บ้านสระ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 (พะเยา – น่าน) ผ่านบ้านทุ่งหนอง บ้านบ่อตอง  บ้านทุ่งมอก บ้านทุ่งเจริญ บ้านมางแยกซ้ายผ่านบ้านหนองอ้อ ไปสิ้นสุดเส้นทางี่อำเภอเชียงม่วน ระยะทางประมาณ   73  กิโลเมตร เป็นถนนลาดยาง ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์  ประมาณ 1 ชั่วโมง 20  นาที

         3. เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1202 (พะเยา – ป่าแดด) ถึงบ้านหนองลาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1298 (บ้านห้วยลาน –  บ้านหนองลาว) เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 (พะเยา – น่าน)  ผ่านอำเภอจุน อำเภอปง  ไปสิ้นสุดทางที่  อำเภอเชียงม่วนระยะทางประมาณ  117  กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางโดยตลอด สามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ  1  ชั่วโมง  30  นาที

การคมนาคมระหว่างอำเภอเชียงม่วนกับจังหวัดน่าน

        โดย เน้นเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1120 (แพร่ – พะเยา ) เริ่มต้นจากอำเภอเชียงม่วน  ผ่านอำเภอบ้านหลวงถึงจังหวัดน่าน  ระยะประมาณ  75  กิโลเมตร เป็นถนนลาดยางโดยตลอด  สามารถใช้สัญจรไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาลใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ  1  ชั่วโมง 20 นาที

การคมนาคมระหว่างอำเภอเชียงม่วนกับจังหวัดแพร่

        โดย เน้นเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  1120 (แพร่ – พะเยา) เริ่มต้นจากอำเภอเชียงม่วน  ผ่านอำเภอสอง  อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่  ระยะทางประมาณ  112  กิโลเมตรเป็นถนนลาดยางโดยตลอด  สามารถใช้สัญจรไปมาสะดวกทุกฤดูกาล ใช้เวลาในการเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ  1  ชั่วโมง  30  นาที

ประชากร

                ประกอบด้วยประชากร 3 กลุ่ม คือ
     1. กลุ่มคนเมือง  มีขนบธรรมเนียมแบบล้านนา มีทุกหมู่บ้านในอำเภอเชียงม่วน
     2. กลุ่มคนไทลื้อ  มีขนบธรรมเนียมแบบสิบสองปันนา  อาศัยอยู่บ้านท่าฟ้าเหนือ  บ้านท่าใต้  บ้านฟ้าสีทองบ้านฟ้าใหม่ บ้านหล่าย   บ้านทุ่งมอก  บ้านทุ่งเจริญ บ้านป่าแขม  บ้านแพทย์ และบ้านมาง  บางส่วน     3. กลุ่มชาวเขาเผ่าเย้า นับถือผี  เชื่อเรื่องโชคชะตา  อาศัยอยู่บ้านบ่อต้นสัก  บ้านนาบัว บ้านห้วยก้างปลา   ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก

ด้านการสาธารณูปโภค การสื่อสาร และโทรคมนาคม 

     1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค   1   แห่ง
     2. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข   1  แห่ง

สภาพทางเศรษฐกิจ   
          รายได้เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 39,584  บาทต่อคนต่อปี  (พ.ศ. 2551)   อาชีพหลักคือการเกษตรกรรม พืชที่ปลูก คือข้าวนาดำ  ข้าวโพด  ข้าวฟาง ถั่วลิสง ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง พืชผักและผลไม้ต่างๆ   ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก  ฤดูการเกษตรมีระยะเวลา 7-9 เดือน   การผลิตส่วนใหญ่เพื่อบริโภค   ที่เหลือก็นำจำหน่าย ผลผลิตส่วนใหญ่เกษตรกร จะขายให้แก่พ่อค้าที่เข้ามารับชื้อภายในท้องที่  หรือนำไปขายในพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา  จังหวัดน่าน และจังหวัดแพร่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น